รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ขณะนี้กิจการร่วมค้า NWR-AVP ประกอบด้วยบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอ็ดวานซ์ พรีแฟบ จำกัด ผู้รับจ้างงานโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นทางเดินลอยฟ้า (Skywalk) ระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กับสถานีหลักสี่ ตามพระราชดำริ ระยะทางยาว 750 เมตร กว้าง 4 เมตร วงเงิน 238 ล้านบาท ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว อยู่ระหว่างเก็บรายละเอียดของงานอีกเล็กน้อย คาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการในช่วงปลายเดือน ม.ค. 66
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สกายวอล์กดังกล่าว ถือเป็นทางเดินเชื่อมที่ยาวที่สุดเท่าที่ รฟท. เคยก่อสร้างมา โดยมีความกว้าง 4 เมตร สร้างบนความสูงระดับเดียวกับทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีแดง มีจุดสูงสุดที่ระดับ 17 เมตร ซึ่งสกายวอล์กจุดนี้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางได้ทั้ง รถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งเป็นโมโนเรลสายแรกที่จะเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้ สำหรับเส้นทางสกายวอล์ก มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณทางเชื่อมระหว่างสถานีหลักสี่ กับศูนย์การค้าไอทีสแควร์ โดยหัก 90 องศา ตั้งฉากกับถนนแจ้งวัฒนะ
มีสิ่งอำนวยความสะดวกการเปลี่ยนระดับการเดินทางคือ บันไดหลัก 1 ชุด บันไดเลื่อนขึ้น และลง อย่างละ 1 ชุด และลิฟต์สำหรับคนพิการ 1 ชุด เพื่อข้ามแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู และทางยกระดับข้ามถนนวิภาวดีรังสิต และจะมีการเปลี่ยนระดับการเดินทางเชื่อมต่อด้วยบันไดหลัก 1 ชุด บันไดเลื่อนขึ้น และลง อย่างละ 1 ชุด และลิฟต์สำหรับคนพิการ 1 ชุด ที่บริเวณฝั่งด้านทิศใต้ จากนั้นทางเดินเชื่อมจะหัก 90 องศา ไปยังแนวเสาของโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีแดง และเลี้ยวเข้าพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อก่อสร้างเป็นจุดขึ้นลงของทางเดินเชื่อม
โดยมีจุดขึ้นลงที่ระดับพื้นของทางเดินเชื่อม 2 จุดคือ จุดขึ้นลงบริเวณหน้าราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประตูเข้า-ออกหมายเลข 3 และ 5 จะมีบันไดเลื่อนขึ้น ลิฟต์สำหรับคนพิการ และทางลาดของผู้พิการ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อย่างไรก็ตาม สกายวอล์กดังกล่าวได้มีการออกแบบไว้สำหรับรองรับรถกอล์ฟ เพื่อให้สามารถวิ่งบริการรับ-ส่งประชาชนเหมือนกับสกายวอล์กบริเวณโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ด้วย คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ด้านนายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ยวันละ 2 หมื่นคน สถิติสูงสุดยังคงอยู่ที่ 2.5-2.6 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งแม้จะยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายเดิมที่ประมาณ 8 หมื่นคนต่อวัน แต่นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อเดือน พ.ย. 64 ผู้โดยสารเริ่มที่ประมาณ 2-3 พันคนต่อวัน จนถึงวันนี้ยังไม่มีวันใดที่จำนวนผู้โดยสารลดลง จำนวนผู้โดยสารยังเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง และคาดว่าปริมาณผู้โดยสารจะเติบโตสูงขึ้น เป็นประมาณ 3 หมื่นคนต่อวันภายในปี 66 โดยเฉพาะเมื่อเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี
นายสุเทพ กล่าวต่อว่า สำหรับสถานีที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการสูงสุด 3 อันดับแรกคือ 1.สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ผู้โดยสารเฉลี่ย 6,800 คนต่อวัน, 2.สถานีดอนเมือง ผู้โดยสารเฉลี่ย 3,300 คนต่อวัน และ 3.สถานีรังสิต ผู้โดยสารเฉลี่ย 2,600 คนต่อวัน ทั้งนี้ หากรถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดให้บริการ คาดว่าจะเกิดผลดีต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง เพราะรถไฟฟ้าสายสีชมพู เชื่อมต่อทั้งสายสีแดง และสายสีเขียว ซึ่งจะทำให้มีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมา รถไฟฟ้าสายสีแดง จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เท่านั้น.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง