น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทวันนี้ 31 ส.ค. ปรับตัวอยู่ที่ระดับ 34.91-34.93 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (09.30 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 35.10 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้น สวนทางเงินดอลลาร์ มีปัจจัยลบจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด ซึ่งหนุนมุมมองคาดการณ์ว่า เฟดอาจยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่กรอบเดิมที่ 5.25-5.50% ในการประชุม FOMC เดือน ก.ย. นี้
ทั้งนี้ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเอกชนรายงานโดย ADP เพิ่มขึ้น 177,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. (ตลาดคาดที่ 195,000 ตำแหน่ง) ขณะที่ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/66 รายงานครั้งที่ 2 ขยายตัว 2.1% annualized QoQ (ทบทวนลงมาจากตัวเลขรอบแรกที่ 2.4% annualized QoQ)
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 34.90-35.10 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ปัจจัยทางการเมืองในประเทศ ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนก.ค. ของไทย ทิศทางฟันด์โฟลว์และค่าเงินหยวน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core PCE Price Indices เดือนก.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาททยอยปรับตัวแข็งค่า แต่ยังเป็นการเคลื่อนไหวที่ผันผวนพอสมควร (แกว่งตัวในช่วง 34.94-35.12 บาทต่อดอลลาร์) โดยเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ และการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้ง คาดการณ์ครั้งที่ 2 ของอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไตรมาส2 (Q2 GDP growth) และยอดการจ้างงานภาคเอกชนโดย ADP ได้ออกมาแย่กว่าคาด ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดปรับลดโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น ทั้งนี้ เงินบาทได้อ่อนค่าลงบ้าง หลังเงินดอลลาร์มีการรีบาวด์ขึ้นเล็กน้อย
รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ออกมาแย่กว่าคาด ยังคงช่วยหนุนให้ผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐ เดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่อง ท่ามกลางการทยอยปรับลดโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อและโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน ซึ่งภาพดังกล่าวยังคงช่วยหนุนให้บรรดาหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth ปรับตัวขึ้นต่อ (Apple +1.9%, Alphabet +1.0%) ส่งผลให้ดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.38%
ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 พลิกกลับมาย่อตัวลง -0.15% หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงกังวลต่อแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อของธนาคารกลางยุโรป (ECB) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็เริ่มขายทำกำไรการรีบาวด์ขึ้นของหุ้นที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน อาทิ กลุ่มสินค้าแบรนด์เนม (LVMH -0.7%)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ในฝั่งตลาดบอนด์ การปรับลดโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานของผู้เล่นในตลาด หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ออกมาแย่กว่าคาด ได้ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ทยอยปรับตัวลดลงสู่ระดับ 4.11% อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนักจากวันก่อนหน้า เนื่องจากผู้เล่นในตลาดยังคงรอลุ้นรายงานข้อมูลการจ้างงานในวันศุกร์นี้ ก่อนที่จะมีการปรับสถานะถือครองที่ชัดเจนอีกครั้ง
ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาแย่กว่าคาด ซึ่งทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ทยอยปรับตัวลดลงสู่ระดับ 103.1 จุด (กรอบ 102.9-103.5 จุด) ทั้งนี้ เราประเมินว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งสหรัฐ ออกมาแย่กว่าคาด ทว่าเงินดอลลาร์อาจไม่ได้อ่อนค่าลงหนัก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐ ในวันศุกร์นี้
ในส่วนของราคาทองคำ การทยอยปรับตัวลดลงของทั้งบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ และเงินดอลลาร์ ได้หนุนให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.) ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทดสอบโซนแนวต้าน 1,975 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่จะเผชิญแรงขายทำกำไรและย่อลงเล็กน้อยสู่ระดับ 1,971 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเรามองว่าโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ และทิศทางดอกเบี้ยเฟด ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ทั้งอัตราเงินเฟ้อ PCE เดือนกรกฎาคม และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ในระยะนี้ ส่วนใหญ่ออกมาแย่กว่าคาดและสะท้อนภาพเศรษฐกิจชะลอลงมากขึ้น
ส่วนในฝั่งยุโรป ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI รวมถึง ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และรายงานการประชุม ECB ล่าสุด เพื่อประเมินแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ว่าจะสามารถปรับขึ้นได้อีกกี่ครั้ง หลังจากที่ล่าสุด ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่และบรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า ECB อาจขึ้นดอกเบี้ยต่อ +25bps เพียงอีกครั้งเดียว
และในฝั่งเอเชีย ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการของจีน (Manufacturing & Services PMIs) โดยนักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจจีนจะยังคงซบเซาต่อเนื่อง สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ เดือนสิงหาคม ที่อาจลดลงสู่ระดับ 49 จุด และ 50.9 จุด ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวจะยิ่งชี้ว่า ทางการจีนจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนเพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอาจชะลอตัวลงหนัก ทั้งนี้ หากรายงานดัชนี PMI ออกมาย่ำแย่กว่าที่ตลาดคาด อาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินเอเชียและทำให้สกุลเงินฝั่งเอเชียเคลื่อนไหวผันผวนได้
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังพอได้รับอานิสงส์จากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์และโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ หลังตลาดทยอยปรับลดโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อและโอกาสการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานของเฟด ซึ่งภาพดังกล่าวอาจดำเนินต่อไปได้ ตราบใดที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ นั้นยังคงออกมาแย่กว่าคาด แต่เรามองว่า การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์อาจเริ่มจำกัดลงบ้าง เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างรอคอยรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Wage Growth) ในวันศุกร์นี้ ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าปรับสถานะการถือครองไปมากนัก
อนึ่ง เงินบาทอาจพอได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าจากแรงซื้อสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติได้บ้าง หลังนักลงทุนต่างชาติทยอยกลับเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่องมากขึ้น ขณะที่ฟันด์โฟลว์ในฝั่งตลาดบอนด์ยังมีความไม่ชัดเจนนัก โดยเป็นไปได้ว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอให้มั่นใจต่อแนวโน้มบอนด์ยีลด์สหรัฐ ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐ ก่อน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินบาทมีโอกาสทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง แต่แรงกดดันฝั่งอ่อนค่ายังพอมีอยู่บ้าง โดยผู้เล่นในตลาดอย่างผู้นำเข้าบางส่วนอาจรอทยอยซื้อเงินดอลลาร์ในจังหวะที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นใกล้โซนแนวรับที่เราเคยประเมินไว้แถว 34.80-35.00 บาทต่อดอลลาร์ นอกจากนี้ ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีน รวมถึงช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทำให้เรามองว่า เงินบาทอาจยังไม่สามารถแข็งค่าทะลุโซนแนวรับดังกล่าวได้ง่ายนัก ขณะที่โซนแนวต้าน อาจยังอยู่ในช่วง 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์ เว้นว่า ปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่าของเงินบาทจะกลับมาชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ตลาดมองเฟดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยต่อเกิน 60% อีกครั้ง ซึ่งต้องอาศัยรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ออกมาสดใส หรือ ดีกว่าคาด
อย่างไรก็ดี ในช่วงนี้ มองว่า ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง